หลอกลวงผู้เสียหายในขณะป่วยทางจิต ต้องรับโทษหนักขึ้นหรือไม่

หลอกลวงผู้เสียหายในขณะป่วยทางจิต ต้องรับโทษหนักขึ้นหรือไม่

โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 341, 342 และให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์ 9,525,287 บาท แก่ผู้เสียหาย

จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธ

ระหว่างพิจารณา รองศาสตราจารย์เพลินจิต ผู้เสียหายที่ 3 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และมาตรา 341 ประกอบมาตรา 80 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 341 ประกอบมาตรา 80, 86 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกจำเลยที่ 1 ฐานฉ้อโกงกระทงละ 6 เดือน รวม 7 กระทง และฐานพยายามฉ้อโกง กระทงละ 4 เดือนรวม 3 กระทง รวมจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 54 เดือน ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานฉ้อโกงจำคุกคนละ 4 เดือนและปรับคนละ กระทงละ 3,000 บาท รวม 7 กระทง และฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานพยายามฉ้อโกงจำคุกคนละ กระทงละ 2 เดือน 20 วันและปรับคนละ กระทงละ 2,000 บาท รวม 3 กระทง รวมจำคุกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 คนละ 34 เดือน 60 วัน และปรับคนละ 27,000 บาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประกอบอาชีพการงานที่มั่นคงเป็นกิจจะลักษณะ ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ประกอบกับมีพฤติการณ์เป็นเพียงผู้สนับสนุนเท่านั้น โทษจำคุกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทุกกระทงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์ 8,035,387 บาท แก่ผู้เสียหาย ข้อหาและคำขออื่นให้ยก

โจทก์ โจทก์ร่วม และจำเลยทั้งสี่อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า หากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์ 8,395,387 บาท แก่ผู้เสียหาย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยทั้งสี่ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติว่า นายประกิตเผ่า ผู้เสียหายที่ 1 เป็นบุตรของนายช่วง และรองศาสตราจารย์เพลินจิต โจทก์ร่วม ผู้เสียหายที่ 1 มีพี่ชาย 2 คน คือนายประกิตพงศ์ และนายประกิตพันธุ์ มีน้องสาว 1 คน คือ นางฐารินี ส่วนนางอลิสา ผู้เสียหายที่ 2 เป็นภริยาของผู้เสียหายที่ 1 จดทะเบียนสมรสกันในปี 2537 และมีบุตรด้วยกัน 2 คนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และครอบครัวย้ายออกจากบ้านของบิดามารดาไปอยู่ที่ตำบลศาลายาอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2549 เมื่อปี 2536 ผู้เสียหายที่ 1 สำเร็จการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลและรับราชการเป็นแพทย์ประมาณ 2 ปี จึงลาออกจากราชการมาช่วยกิจการโรงเรียนกวดวิชาแอพพลายด์ฟิสิกส์ อันเป็นกิจการของครอบครัวเมื่อประมาณปี 2537 ซึ่งขณะเกิดเหตุมีทั้งหมด 4 สาขา ได้แก่ สาขาสยามสแควร์ สาขาบางกะปิ สาขางามวงศ์วาน และสาขาวิสุทธิกษัตริย์ และยังได้ร่วมหุ้นกับผู้อื่นอีกประมาณ 13 ถึง 14 สาขาทั่วประเทศบุคคลในครอบครัวแบ่งงานกันรับผิดชอบในโรงเรียนกวดวิชาดังกล่าว โดยโจทก์ร่วมทำหน้าที่บริหารงานด้านบัญชีและการเงิน นายช่วงและผู้เสียหายที่ 1 ทำหน้าที่ฝ่ายวิชาการและเป็นครูผู้สอน ผู้เสียหายที่ 2 ทำหน้าที่บริหารงานบุคคล ส่วนนายประกิตพันธุ์และนางฐารินีทำหน้าที่ค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการและผลิตสื่อการเรียนการสอน และโจทก์ร่วมยังเป็นผู้จัดสรรรายได้ต่างๆ ให้บุคคลในครอบครัวโดยใช้หลักว่าผู้ใดทำงานมากจะได้รับส่วนแบ่งมาก จำนวนเงินรายได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียนที่สมัครในแต่ละปี จำเลยที่ 1 เกิดปี 2525 จำเลยที่ 1 รู้จักกับผู้เสียหายที่ 1 ตั้งแต่เรียนชั้นมัธยม เพราะไปเรียนกวดวิชาที่โรงเรียนของผู้เสียหาย 1 จำเลยที่ 1 แพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล สาขาวิชาสอบเข้าเรียนคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2544 ต่อมาได้สอบคัดเลือกใหม่ได้ที่คณะกายภาพบำบัดและปี 2546 สอบคัดเลือกเข้าเรียนใหม่ได้ที่คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยก่อนสอบ จำเลยที่ 1 ก็ไปนั่งเรียนที่โรงเรียนของผู้เสียหายที่ 1 ด้วย

การที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงเอาทรัพย์ไปจากผู้เสียหายที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นผู้สนับสนุน ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 มีอาการป่วยทางจิต ซึ่งเป็นบุคคลที่มีภาวะแห่งจิตต่ำกว่าคนปกติ และย่อมถูกหลอกลวงได้โดยง่ายกว่าคนปกติทั่วไปนั้นถือเป็นการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงโดยอาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้เสียหายที่ 1 ผู้ถูกหลอกลวงแล้ว จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 (2) หาใช่เป็นเพียงความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยไม่แต่เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกา ศาลฎีกาจึงเพียงแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสี่เสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสี่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 นอกจากนี้ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์คือ ค่าเช่าห้องพักคอนโดมิเนียมของพนักงานรักษาความปลอดภัยอีก 60,000 บาท และค่าใช้จ่ายรายเดือนอีก 300,000 บาท แก่ผู้เสียหายนั้นเมื่อรวมกับค่าเช่าห้องพักคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือชดใช้ 150,000 บาท แก่ผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นเงิน 510,000 บาท แต่โจทก์ขอค่าเช่าห้องพักจำเลยที่ 1 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือชดใช้ 150,000 บาท แก่ผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นเงิน 510,000 บาท คอนโดมิเนียมตามฟ้องในส่วนนี้มาเพียง 410,000 บาท การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าใช้จ่ายรายเดือนดังกล่าวให้ 300,000 บาท รวมแล้วเป็นเงิน 510,000 บาท นั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสี่ไม่ต้องคืนอาวุธปืนทั้ง 3 กระบอก เป็นเงิน 200,000 บาท แก่ผู้เสียหาย แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้นำเงินที่จำเลยทั้งสี่ต้องชดใช้คืนในส่วนของอาวุธปืนจำนวน 130,000 บาท ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น หักออกจากราคาทรัพย์ที่จำเลยทั้งสี่ต้องร่วมกันคืนหรือชดใช้แก่ผู้เสียหายด้วยซึ่งเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 342 (2) และมาตรา 342 (2) ประกอบมาตรา 80 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 (2) ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 342 (2) ประกอบมาตรา 80, 86 ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์รวม 8,165,387 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และโจทก์ร่วม นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

สรุป

การที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงเอาทรัพย์ไปจากผู้เสียหายที่ 1 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 มีอาการป่วยทางจิต ซึ่งเป็นบุคคลที่มีภาวะแห่งจิตต่ำกว่าปกติ และย่อมถูกหลอกลวงได้โดยง่ายกว่าคนปกติทั่วไปนั้น ถือเป็นการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงโดยอาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้เสียหายที่ 1 ผู้ถูกหลอกลวง จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 342 (2) หาใช่เป็นเพียงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยไม่ แต่เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกา ศาลฎีกาจึงเพียงแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสี่เสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ก็ไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสี่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ทนายความ Copyright © 2021. All rights reserved.