แนวความคิดและความเป็นมาของความผิดฐานฉ้อโกงมีมาอย่างไร

 

แนวความคิดและความเป็นมาของความผิดฐานฉ้อโกงมีมาอย่างไร

เดิมกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127

ความผิดฐานฉ้อโกงมีบัญญัติในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 โดยมีหลักอยู่ใน มาตรารอ4 ซึ่งบัญญัติขึ้นตามแนวความคิดของฝรั่งเศสในเรื่องฉ้อโกง มีความว่า ผู้ใดหลอกลวง ด้วยประการใดๆอันต้องประกอบด้วยการเอาความเท็จมากล่าว หรือแกล้งปกปิดเหตุการณ์อย่าง ใดๆที่มันควรต้องแจ้งนั้น โดยมันมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้หนึ่งผู้ใดล่งทรัพย์อย่างหนึ่งอย่าง ใดให้แก่ตัวมัน หรือแก่ผู้อื่นก็ดี หรือให้เขาทำหนังสือสำคัญอย่างใดๆก็ดี ท่านว่ามันผู้หลอกลวง เช่นว่ามานี้กระทำการฉ้อโกง มีการฉ้อโกงมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าร ปีและให้ ปรับไม่เกินกว่า 2,000 บาทอีกโสตหนึ่ง

ประมวลกฎหมายอาญา

เมื่อมาตรา 341 ประมวลกฎหมายอาญามาเปรียบเทียบกับกฎหมายลักษณะอาญา ร. ศ.127 ในมาตรา 304 แล้วจะเห็นได้ว่ามีฃ้อความทำนองเดียวกัน แต่ได้มีการเปลี่ยนข้อความไป บ้าง ซึ่งมาตรา 341 บัญญัติว่า” ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงตังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอนหรือทำลาย เอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำ ความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกฟันบาท หรือ ทั้งจำทั้ง ปรับ”

ในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 เดิมใช้คำว่า”ให้ผู้หนึ่งผู้ไดล่งทรัพย์อย่างหนึ่งอย่าง ใดให้แก่ตัวมันหรือแก’ผู้อื่น”อันเป็นหลักในกฎหมายฝรั่งเศส ต่อมาได้แก้ไขใช้คำว่า”ไต้ไปซึ่ง ทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม”

ปรากฏตามความในมาตรา341         แห่งประมวลกฎหมายอาญา เพราะจะเห็นได้ว่าก้ามีการหลอกให้ล่งทรัพย์ก็จะเป็นความผิดทันที แต่ได้มีการ ชี้แจงในที่ประชุมอนุกรรมการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาว่า ที่เปลี่ยนไปใช้คำว่า” ได้ไปซึ่ง ทรัพย์สิน” เพื่อให้มีความหมายกว้างขึ้น เนื่องจากเกรงว่า ก้ามีกรณียืมสิ่งของเขาไปแล้วเอาความ เท็จมากล่าวบอกเจ้าของว่าทำหายแล้ว หรือลูกฉีกเล่นเสียแล้วเจ้าของทรัพย์นั้นอาจใช้ทรัพย์นั้นไป โดยหลงเชื่อการหลอกลวงด้วยความเท็จนั้น เช่นบอกว่าช่างเถอะไม,เอาแล้ว เช่นนี้ไม่เป็นความผิด ฐานฉ้อโกง เพราะฉะนั้น ถ้าบัญญัติกฎหมายโดยใช้คำว่า”ล่งทรัพย์” จะไม,เป็นฉ้อโกงเพราะการ หลอกลวงไม่มีผลให้มีการส่งทรัพย์ แต่ถ้าใช่คำว่า “ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน” ก็เป็นฉ้อโกงไต้ เพราะการ หลอกลวงเป็นผลให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินแล้ว ตังนั้นที่ประชุมจึงลงมติให้ใช้คำว่า” ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน

หากจะกล่าวถึงหลักสำคัญของความผิดฐานฉ้อโกงนี้ คือ ผู้กระทำต้องกระทำโดยมี เจตนาทุจริต ตังนั้นคุณธรรมทางกฎหมายของความผิดฐานนี้มีอย่างเดียวคือความเสียหายในทาง ทรัพย์สินของผู้อื่น เพราะฉะนั้นความผิดฐานฉ้อโกงจึงมุ่งประสงค์จะคุ้มครองทรัพย์เดยเฉพาะ เท่านั้น

ความผิดฐานฉ้อโกงของไทยแต่เดิมรับมาจากณี่ปุนและณี่ปุนก็นำแบบอย่างมาจาก เยอรมันโดยได้บัญญัติไว้ในมาตรา 263 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน ค.ศ.1871

สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ทนายความ Copyright © 2021. All rights reserved.